วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคติดต่อ

       ไวรัสเมอร์ส หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์กลุ่มโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ติดต่อได้จากคนสู่คน และยังไม่มีวัคซีนรักษา จึงเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและจับตาให้มาก
           เป็นข่าวที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ กับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "ไวรัสเมอร์ส" (MERS)ที่กำลังระบาดหนักและคร่าชีวิตผู้คนชาวเกาหลีใต้ไปไม่น้อยแล้ว ทางโรงพยาบาลปิยะเวท มีข้อมูลของโรคร้ายนี้มาบอกเล่าให้ได้รู้จักกัน

           เชื้อไวรัสเมอร์ส หรือ Middle East Respiratory Syndrome (MERS) ซึ่งเป็นโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์กลุ่มโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่ว ๆ ไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ต่อมาไวรัสสายพันธุ์นี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคนได้ ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก ในที่สุดอาจเสียชีวิต

           อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันตั้งแต่รุนแรงมากจนถึงรุนแรงน้อย และมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไม่แสดงอาการเลย ปัจจุบันยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าไวรัสจากสัตว์เข้าสู่คนด้วยวิธีใด และการติดต่อระหว่างคนเกิดขึ้นจากการปฎิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การติดเชื้อจากละอองเสมหะเมื่อมีอาการไอหรือจาม การสัมผัส เป็นต้น

           โดยเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นในบุคคลที่มีร่างกายอ่อนแอ เมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส จะมีอาการไอ มีไข้ และหายใจลำบาก ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นโรคไข้หวัดปกติ แต่เมื่อเป็นหนักเข้าก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารด้วย อาทิ ท้องเสีย มวนท้อง และคลื่นไส้อาเจียน และหากเชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ปอด อาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 4 วัน

           พญ.กรุณา อธิกิจ อายุรแพทย์ทั่วไป รพ.ปิยะเวท แนะนำว่า สำหรับเชื้อไวรัสเมอร์ส ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่คนไทยต้องหันมาตระหนักให้มากขึ้น เพราะยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันหรือยาที่รักษาโรคนี้ได้โดยตรง ทำได้เพียงการรักษาไปตามอาการเพื่อประคับประคองเท่านั้น

           ในส่วนของการติดต่อจากคนสู่คนจะติดต่อผ่านทางการสัมผัสหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ อาทิ น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ เลือด สารคัดหลั่งต่าง ๆ และจะเพิ่มจำนวน แพร่กระจายอย่างรวดเร็วเมื่อไวรัสเข้าไปรวมกับเซลล์ของร่างกายที่อุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อตายลง ระบบการทำงานของร่างกายล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ปอด และไต ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่อาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็วเมื่อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ปอด หากลุกลามไปถึงขั้นนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง
 เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ [3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรนอกภาครัฐจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ อ่านเพิ่มเติม
                                           เนื้อเพลงค่านิยม12ประการ
หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
                       
สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
                            
ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ
                        
หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
                             
เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
                       
แปดรักษา วินัย กฏหมายไทย
                          
เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
                           
สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
                            
สิบเอ็ดต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
                             
สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม